ที่มา : https://www.silpa-mag.com…
ผู้เขียน : ธีรยุทธ บัวทอง
เผยแพร่ : วันอาทิตย์ที่ ๒๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๖

รายละเอียด

‘พระยาวิไชเยนทร์’ ผู้ร้ายในประวัติศาสตร์ แต่ไม่ใช่สำหรับชุมชน ‘เครื่องถมทอง’ ?

เครื่องถม หมายถึง ภาชนะหรือเครื่องประดับที่มีลวดลาย โดยการลงยาตะกั่วทับหรือถมลอยเป็นลวดลายต่าง ๆ และเป็นการทำลวดลายที่ขุดลงไปในผิวภาชนะที่ทำจากเงินหรือทองให้เด่นชัดยิ่งขึ้น ด้วยการถมน้ำยาดำลงไปในร่องให้เต็ม

เครื่องถมเก่าแก่ที่สุดเชื่อกันว่าเป็นของชาวโรมัน มีลักษณะลงยาสีดำที่เรียกว่า Tula Silver
ศาสตร์การทำเครื่องถมในไทยนั้น สันนิษฐานว่าอาจได้รับอิทธิพลมาจากชาวโปรตุเกสที่เข้ามาติดต่อค้าขายในสมัยกรุงศรีอยุธยาช่วงรัชสมัยของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ หรืออาจได้รับอิทธิพลมาจากอิหร่านโดยตรง (หรือชาวเปอร์เซีย) ?

หลักฐานของไทยที่กล่าวถึงเครื่องถมเป็นครั้งแรก ปรากฏอยู่ในกฎมณเฑียรบาล ซึ่งตราขึ้นในรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ระบุว่า “ขุนนางศักดินา ๑๐๐๐๐ กินเมืองกินเจียดเงินถมยาดำรองตลุ่ม…”
แรกเริ่มเดิมทีนั้นเครื่องถมทำแต่เพียงถมยาดำ ต่อมาได้พัฒนาด้วยการทำ “ตะทอง” เป็นแห่ง ๆ จึงทำให้มีลายทองสลับกับลายเงิน กระทั่งเกิดเป็น “ถมทอง” มีราคาน่าครอบครองยิ่งขึ้น

อ่านต่อได้ที่ https://www.silpa-mag.com/culture/article_16613