ที่มา : https://nakhonsistation.com/…
ผู้เขียน : ธีรยุทธ บัวทอง
เผยแพร่ : วันพฤหัสบดีที่ ๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๔

รายละเอียด

“…การหาหลักฐานทางโบราณคดีนั้น
ถ้าไม่มีอะไรดีกว่านิทาน ก็ต้องรับเอานิทานเข้าประกอบ
หนังสือนี้จึ่งอาจเปนประโยชน์ได้บ้างในทางโบราณคดี…”

พระนิพนธ์คำนำตำนานพระธาตุเมืองนครศรีธรรมราช
ในพระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์

เป็นอย่างใจความสำคัญของพระนิพนธ์ในพระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ ที่ยกมาจากคำนำหนังสือตำนานพระธาตุเมืองนครศรีธรรมราช ฉบับหลวงนรินทร (ม.ล. สำเนียง อิศรางกูร ณ อยุธยา) พิมพ์ในงานปลงศพนางเทพนรินทร (สงวน อิศรางกูร ณ อยุธยา) ผู้ภรรยา เมื่อปีมะโรง พ.ศ.๒๔๗๑ ว่า “นิทาน” (อาจ)เป็นประโยชน์(ได้บ้าง)ในทาง “โบราณคดี” ทั้งนี้ก็จนกว่าจะมีหลักฐานชั้นต้นอื่นใดที่ยอมรับกันในทางโบราณคดีมาประกอบการอธิบาย และแม้ว่าท้ายที่สุดแล้ว “นิทาน” จะไม่สามารถเป็นหลักฐานทางตรงในทางโบราณคดีได้ แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้เช่นกันว่า “นิทาน” ยังสามารถใช้เป็นกระจกสะท้อนภาพของชุดความคิดในทางคดีอื่น

ตำนานพระธาตุเมืองนครศรีธรรมราชฉบับที่กล่าวถึง เป็นสำนวนร้อยแก้วโครงเรื่องคล้ายกับตำนานเมืองนครศรีธรรมราช แต่ส่งอิทธิพลต่อความรับรู้ของชาวนครศรีธรรมราชมากกว่า เป็นต้นว่า ในตำนานเมือง ฯ เขียนชื่อบุคคลว่า “นางเหมมาลา” แต่ในตำนานพระธาตุ ฯ เขียนเป็น “นางเหมชาลา” ซึ่งแม้ว่า “มาลา” จะให้ความรู้สึกถึงความเป็นสตรีมากกว่า “ชาลา” แต่อย่างหลังนี้ กลับเป็นที่รู้จักและใช้กันต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ดังนั้น การสกัดให้เห็นภาพสะท้อนอื่นใดจากตำนานกลุ่มนี้ จึงควรเริ่มที่ “ตำนานพระธาตุเมืองนครศรีธรรมราช”

ตำนานพระธาตุ ฯ มีหลายภาพสะท้อนความเป็นนครศรีธรรมราชในอดีตอยู่หลายด้าน แต่ที่จะสกัดออกมาในที่นี้ คือเรื่อง “โรคระบาด” ซึ่งแลดูทันเหตุทันการณ์กับสภาพปัจจุบัน อย่างน้อยที่สุดก็พลอยจะได้อาศัยเป็นกรณีเปรียบเทียบ

หาก “ยารักษาโรค” เป็น ๑ ในปัจจัย ๔ ของมนุษย์
ก็ย่อมแสดงชัดว่า “โรค” เป็นเหตุตั้งต้นแห่งปัจจัยนี้
และดูเหมือนว่าจะเป็นเหตุแห่งการเปลี่ยนแปลงอื่นด้วย ดังจะได้กล่าวต่อไป

อ่านต่อได้ที่ https://nakhonsistation.com/โรคระบาด-ในตำนานพระธาตุ/