ที่มา : https://adaymagazine.com/…
ผู้เขียน : ณัฐนันทน์ ทองเปล่งศรี
เผยแพร่ : สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๑

รายละเอียด

ในยุคที่หลายวัดเปลี่ยนบทบาทจากศูนย์รวมจิตใจกลายมาเป็นที่จอดรถ สถาบันอาศรมศิลป์ สถาบันการศึกษาที่มีความสนใจในสถาปัตยกรรมที่มีรากมาจากภูมิปัญญาไทยและกระบวนการมีส่วนร่วมในการออกแบบสถาปัตยกรรม จึงคิดทำโครงการ “วัดบันดาลใจ” เพื่อพลิกฟื้นวัดให้กลับมาเป็นศูนย์รวมจิตใจคนในสังคมเหมือนก่อน คนจะได้หันหน้าเข้าหาวัดมากขึ้นด้วยการปรับโครงสร้างทางสถาปัตยกรรม ระบบจัดการภายในวัดและกิจกรรมธรรมะต่าง ๆ เราเลยชวน ประยงค์ โพธิ์ศรีประเสริฐ, ปริยาภรณ์ สุขกุล และ ยิ่งยง ปุณโณปถัมภ์ ทีมงานหลักของ “อาศรมสถาปนิกชุมชนและสิ่งแวดล้อม” องค์กรไม่แสวงหาผลกำไรที่นำความรู้ไปบริการสังคม หนึ่งในโครงข่ายของสถาบันอาศรมศิลป์ มานั่งคุยถึงการบ่มเพาะโครงการแสนบันดาลใจนี้ให้ชูดอกออกผลอย่างงดงาม

๑. เห็นความสำคัญจึงบันดาลใจ

เมื่อบทบาทของวัดในสังคมไทยเริ่มเปลี่ยนไป วัดหลายแห่งในย่านการค้าจึงกลายเป็นเพียงที่จอดรถให้คนที่มาทำกิจธุระบริเวณนั้น บางแห่งก็กลายเป็นพุทธพาณิชย์ ทีมอาศรมสถาปนิกชุมชนและสิ่งแวดล้อมเลยคิดเริ่มทำโครงการวัดบันดาลใจขึ้นมาตั้งแต่เดือนกันยายน ๒๕๕๗ ร่วมกับ สสส. โดยตั้งใจว่าอยากทำให้วัดกลับมาเป็นศูนย์กลางทั้งทางจิตวิญญาณและกายภาพของชุมชนดังเดิม

๒. คัดสรรวัด ๙ แห่ง

จากรายชื่อแรกที่เสนอไปแค่ ๓ วัด แต่ สสส. อยากให้โครงการนี้เห็นการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนทีมงานจึงเสนอเพิ่มเป็น ๙ วัด โดยเลือกจากวัดที่เจ้าอาวาสมีวิสัยทัศน์สอดคล้องกับแนวคิดโครงการ เป็นวัดที่มีคนรู้จักและกระจายอยู่ทุกภูมิภาค จะได้เป็นแรงบันดาลใจให้วัดอื่นๆ อยากพัฒนาบ้าง ที่สำคัญคือแต่ละวัดต้องมีจุดเด่นหรือศักยภาพไม่ซ้ำกัน เช่น วัดที่เน้นสอนธรรมะ วัดที่เน้นการปฏิบัติธรรมเผยแพร่ศาสนา วัดโบราณสถานที่เป็นสถานที่ท่องเที่ยว

วัด ๙ แห่งที่เป็นต้นแบบของโครงการ คือ วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร จังหวัดนครพนม, วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร จังหวัดเชียงใหม่, วัดนางชี กรุงเทพ ฯ, วัดชลประทานรังสฤษดิ์ จังหวัดนนทบุรี, วัดภูเขาทอง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา, วัดสุทธิวราราม กรุงเทพ ฯ, วัดศรีทวี จังหวัดนครศรีธรรมราช, วัดป่าโนนกุดหล่ม จังหวัดศรีสะเกษ และวัดมหาจุฬาลงกรณราชูทิศ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

อ่านต่อได้ที่ https://adaymagazine.com/draft-11/