ที่มา : https://web.facebook.com/jiradejwong…
ผู้เขียน : ภูมิ จิระเดชวงศ์
เผยแพร่ : วันศุกร์ที่ ๘ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๕

รายละเอียด

ข้อถกเถียงที่ยุติได้ด้วยหลักฐาน ซึ่งเบื้องต้นนั้นที่ชัดเจนคือ ระยะเวลาการบันทึกการกำเนิดและการสร้างศาสนาสถานต่าง ๆ (เช่น ตำนานพัทลุงกับนครศรีธรรมราช ห่างกัน ประมาณ ๒๕๐ ปี ) และ แต่ละที่ มีตำนานของตนเอง ซึ่งมีข้อย้อนแย้งกันในแต่ละพื้นที่ของที่มาแต่ละตำนาน แต่เบื้องต้นนั้นสรุปได้ว่า ไม่ได้มีเพียงองค์เดียว ติดตามกันครับ

พระนางเลือดขาว สตรีที่มีบทบาทต่อพุทธศาสนา และ สังคมของบ้านเมืองทะเลใต้ในพุทธศตวรรษที่ ๑๔ – ๑๘ มีปรากฎอยู่ในหลายจังหวัดในภาคใต้ เช่น พระนางเลือดขาวที่ถ้ำพระพุทธ จ. ตรัง , พระนางเลือดขาวหรือแม่เจ้าอยู่หัวที่วัดท่าคุระ จ. สงขลา , พระนางเลือดขาวหรือแม่นางหลง ที่ จ. พัทลุง , พระนางเลือดขาวที่วัดพระนางสร้าง จ. ภูเก็ต , พระนางเลือดขาวแห่งวัดบ่อล้อ อ.เชียรใหญ่ จ.นครศรีธรรมราช และ พระนางเลือดขาวผู้เป็นมิตรกับนางพญาจัณฑี อ.ฉวาง จ.นครศรีธรรมราช ซึ่งมีอนุสรณ์เป็นเจดีย์ที่วัดมะนาวหวาน อ.ช้างกลาง จ.นครศรีธรรมราช การปรากฎตัวของยอดอุบาสิกาที่ศรัทธายิ่งในพุทธศาสนา ได้ทำให้เกิดความรัก ความศรัทธา การบูชามาอย่างไม่ขาดสาย ตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษที่เรามิอาจย้อนถึง มายังปัจจุบัน ที่ได้ทวีความศรัทธามากยิ่งขึ้น และ มีชื่อเสียงขจรขจายไปทั่วประเทศ

บทความที่เคยได้เผยแพร่ไป https://www.facebook.com/jiradejwong/posts/474248456389224