ที่มา : https://web.facebook.com/jiradejwong…
ผู้เขียน : ภูมิ จิระเดชวงศ์
เผยแพร่ : วันพุธที่ ๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๔

รายละเอียด

จากอาณาจักรศรีวิชัยถึงนครศรีธรรมราช เรามีกษัตริย์กี่พระองค์ เรามีเจ้าเมืองกี่ท่าน โดยภูมิ จิระเดชวงศ์

รายชื่อกษัตริย์อาณาจักรศรีวิชัย (เป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นที่ผู้เขียนและคณะได้รวบรวมเพื่อใช้ในการจัดทำประวัติศาสตร์เมืองนครศรีธรรมราช ซึ่งดำเนินการโดยภาคประชาชน โดยได้ดำเนินการกับคณะทำงานมาตั้งแต่ปี ๒๕๕๙ ซึ่งปัจจุบันนั้น ผู้เขียนและคณะทำงานนั้นได้ดำเนินการค้นคว้าและเรียบเรียงไปได้ในหลาย ๆ ส่วนแล้ว ซึ่งจะได้นำมาเสนอในโอกาสต่อไป
รายชื่อกษัตริย์อาณาจักรศรีวิชัย

พ.ศ. ๑๐๐๖ ถึง พ.ศ. ………… พระเจ้าพิชัยเดชะ …………
พ.ศ. ๑๑๓๒ ถึง พ.ศ. ๑๑๖๐ พระเจ้าธรรมราชบุระ (พระเจ้าลี-ฟู-โต-เส) หรือ พระเจ้าธรรมราช ราชวงค์โคตมะวงค์ (จูถ่าน)
พ.ศ. ………… ถึง พ.ศ. ๑๑๙๖ พระยาศรีไสยนรงค์ นางจันทาเทวี อัครมเหสี
พ.ศ. ………… ถึง พ.ศ. ๑๑๙๘ ท้าวธรรมกษัตริย์ (น้องชาย)
พ.ศ. ………… ถึง พ.ศ. ๑๒๑๓ พระเจ้าศรีวิชัย (โห-มิ-โต) ชิลิโพชิ
พ.ศ. ๑๒๑๗ ถึง พ.ศ. ………… พระนางสิมา กษัตริย์ผู้หญิงแห่งนครศรีธรรมราช
พ.ศ. ๑๒๔๕ ถึง พ.ศ. ………… พระเจ้าธรรมเสตุ หรือ สมเด็จพระอินทราธิราช (ไศเลนทรวงค์)
พ.ศ. ๑๒๖๗ ถึง พ.ศ. ………… พระเจ้ากรุงศรีวิชัย เช-ลิ-โต-เล-เปา-ไม
พ.ศ. ๑๒๘๕ ถึง พ.ศ. ………… พระเจ้า ลิว-เตง-วิ-กง (กษัตริย์ศรีวิชัย)
พ.ศ. ………… ถึง พ.ศ. ๑๓๑๐ พระเจ้าวิษณุที่ ๑ …………
พ.ศ. ๑๓๑๐ ถึง พ.ศ. ………… พระเจ้าวิษณุที่ ๒
พ.ศ. ๑๓๑๘ ถึง พ.ศ. ………… พระเจ้าศรีวิชเยนทรราชา (วิษณุ) หรือ ศรีวิชเยนทรนฤบดี และดำรงพระราชอิสริยยศว่า (ศรีราชา) ผู้เป็นราชวงค์ไศเลนทร ………… จารึกหลักเสมาเมือง ศักราช ๖๙๗ (พ.ศ. ๑๓๑๘ ทรงพระนามว่า ………… ธรรมเสตุ)
พ.ศ. ๑๔๐๓ ถึง พ.ศ. ๑๔๔๐ ………… พระเจ้าศิริกิตกุมาร (เรื่องพระแก้วมรกต) กรุงตามพรลิงค์

………… ราชวงศ์ไศเลนทรตอนปลาย …………

๑. พ.ศ. ๑๔๔๖ ถึง พ.ศ. ๑๔๗๑ มหาราชสิทธะยนาภา (ชีวกราช ในตำนานชินกาลมาลีปกรณ์) มีพระนามหลายพระนาม พระยาวรราช หรือสุชิตราช หรือ สุรชิตราช ตั้งราชธานีอยู่ที่มาลัยปุระ คือนครตามพรลิงค์
๒. พ.ศ. ๑๔๕๗ ถึง พ.ศ. ………… พระเจ้ากัสสปะที่ ๔ กษัตริย์ศรีวิชัย ผู้ครองเมืองตามพรลิงค์เดินทางไปปกครองลังกา (จากศิลาจารึกประเทศศรีลังกา)
๓. พ.ศ. ๑๔๗๑ ถึง พ.ศ. ๑๕๐๓ มหาราชโกณฑัญญะ
๔. พ.ศ. ๑๕๐๓ ถึง พ.ศ. ๑๕๕๐ มหาราชศรีจุฬามณีวรรมเทวา ตั้งราชธานีอยู่ที่นครศรีวิชัย คือไชยา
๕. พ.ศ. ๑๕๔๔ ท้าวสุชัย
๖. พ.ศ. ๑๕๕๐ ถึง พ.ศ. ๑๕๖๗ มหาราชมารวิชโยตตุงคะ สิ้นพระชนม์ชีพในสนามรบ
๗. พ.ศ. ๑๕๖๗ และโอรสองค์ใหญ่ชื่อ ………… สงครามวิชโยตตุง ………… ถูกจับเป็นเชลยและสิ้นพระชนม์ที่แคว้นโจฬะ โอรสองค์น้อย
๘. พ.ศ. ๑๕๖๗ ถึง พ.ศ. ๑๖๑๕ มหาราชสมรวิชโยตุงคะ พระเจ้าสุชิตราช หรือชีวกะ
๙. พ.ศ. ๑๖๑๕ ถึง พ.ศ. ………… มหาราชมาณาภรณ์
๑๐. พ.ศ. ………… ถึง พ.ศ. ………… มหาราชมหาสธรรมปรัพตา
๑๑. พ.ศ. ………… ถึง พ.ศ. ………… มหาราชสูรยนารายณ์ (๓) ร่วมสมัยกับพระเจ้าวิชัยพาหุที่ ๑(๑๖๑๔-๑๖๖๙) ประเทศศรีลังกา ตั้งราชธานีอยู่ที่ นครสิงหปุระ เข้าใจว่าจะเป็นเมืองร้างที่อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา

………… ราชวงค์ปทุม หรือ ปัทมวงค์ …………

๑. พ.ศ. ………… ถึง พ.ศ. ………… มหาราชสูรยนารายณ์ (๔) เป็นโอรสของมหาราชมหาสธรรมปรัพตา (กษัตริย์องค์ที่ ๗ แห่งไศเลนทรวงค์ จัดเป็นพระเจ้าศรีธรรมโศกราชที่ ๑
๒. พ.ศ. ………… ถึง พ.ศ. ๑๗๑๐ มหาราชชัยโคปะ (พระเจ้าศรีธรรมโศกราชที่ ๒) (ในศิลาจารึกดงแม่นางเมืองหลักที่ ๓๕) ตำนานพระบรมธาตุจังหวัดนครศรีธรรมราชระบุปีที่สร้างว่าเป็นศักราช ๑๐๙๘ ซึ่งศักราชในที่นี้ควรเป็นมหาศักราชเนื่องจากจารึกดงแม่นางเมือง พ.ศ. ๑๗๑๐ ที่มีรับสั่งให้เจ้าเมืองถวายที่นาเพื่อบูชาสริธาตุของกษัตริย์ผู้ล่วงลับไปแล้ว ทั่งนี้เมื่อเปรียบเทียบปีพุทธศักราช ๑๗๑๐ ของจารึกแม่นางเมือง ก็หมายความว่าในปี พ.ศ. ๑๗๙๐ ซึ่งเป็นปีที่สร้างเมืองนครศรีธรรมราชและเป็นปีเดียวกันกับการสร้างพระบรมธาตุในปี ๑๗๑๙ (ซึ่งตรงกับบรรทึกของพระเจ้า นรปติสินธุกษัตริย์พม่าที่เมืองพุกาม)
๓. พ.ศ. ๑๗๑๓ ………… ถึง พ.ศ. ๑๗๓๓ ………… พระเจ้ามันละยาทิป เจ้าเมืองนครศรีธรรมราช
๑๗๑๙ สร้างพระบรมธาตุ ………… ดอนพระ ………… (วัดพระบรมธาตุปัจจุบัน) ร่วมสมัย กับ พระเจ้านรปติสิทธุกัตริย์ประเทศพม่า
๔. พ.ศ. ………… ถึง พ.ศ. ๑๗๕๒ มหาราชปรลัมพัตร พระเจ้าศรีธรรมโศกราชที่ ๓ (ในศิลา.จารึก.ดงแม่นางเมืองหลักที่ ๓๕ และจารึกฐานพระพุทธรูปนาคปรกหลักที่ ๒๕ )ย้ายราชธานีจาก นครสิงหปุระมาสร้างเมืองนครศรีธรรมราช ที่กระหม่อมโคก (เมืองพระเวียง) เป็นราชธานีเมื่อราว พ.ศ. ๑๗๑๙
๕. พ.ศ. ๑๗๕๒ ถึง พ.ศ. ๑๗๗๒ มหาราชสูรยนารายณ์ (พระเจ้าศรีธรรมโศกราชที่ ๔ )
๖. พ.ศ. ๑๗๗๒ ถึง พ.ศ. ๑๘๑๕ มหาราชจันทรภาณุ (พระเจ้าศรีธรรมโศกราชที่ ๕ ) มเหสี พระนางเลือดแม่เจ้าอยู่หัว
๗. พ.ศ. ๑๘๑๕ ถึง พ.ศ. ๑๘๒๐ พระเจ้าศรีธรรมโศกราชที่ ๖ พงษาสุระ (พระอนุชา) มีมเหสีชื่อพระนาง อรวคุ อัครมเหสี ครองราชอยู่ ๗ ปีพระเจ้าพงศาสุระสิ้นพระชนม์ ไม่ทันที่กษัตริย์พระองค์ใหม่จะขึ้นครองราช ก็เกิดยมบน เกิดโรคไข้ห่าในเมืองหลวงเสียก่อน …………

หลังจากนี้ เมืองนครศรีธรรมราช ก็เกิด โรคระบาดไข้ห่า (อหิวา) ผู้คนล่มตายจำนวนมาก ที่เหลือก็หนีเข้าป่า ภายในเมืองหลวง ไร้ผู้คน ถึงต้อง ทิ้งเมือง ปล่อยให้เมืองนครศรีธรรมราชเป็นเมืองร้างไร้ผู้คนเป็นเวลาช้านาน (ย้ายเมืองไปอยู่เขาวังอำเภอลานสกา) เป็นเวลา ๕ ปี จนเมืองนครศรีธรรมราชกลายเป็นป่ารกร้าง เมื่อโรคระบาดสงบลง ก็ย้ายเมืองกลับมา ระยะนี้เมืองนครศรีธรรมราชบอบช้ำมาก ไหนจะภัยจากสงคราม ยังต้องเกิดโรคไข้ห่าอีก …………

พ.ศ. ………… ถึงพ.ศ. ………… นายอู นายอยู่
พ.ศ. ………… ถึง พ.ศ. ………… หมื่นศรีจอมรัก นางบุญกอง
พ.ศ. ………… ถึง พ.ศ. ๑๘๒๐ พระศรีมหาราช องค์ที่ ๑ (เจ้าเมืองลานสกา)
พ.ศ. ๑๘๒๐ ถึง พ.ศ. ๑๘๖๑ พระศรีมหาราชา องค์ที่ ๒ (นายธนู)
พ.ศ. ๑๘๖๑ อยู่มาพระศรีมหาราชาถึงแก่กรรม ศักราช ๑๘๖๑ โปรดให้ข้าหลวงมาเป็นศรีมหาราชาแต่งพระธรรมศาลา ทำระเบียงล้อมพระมหาธาตุ และก่อเจดีย์ วัศสภ มีพระบัณฑูรให้พระศรีมหาราชาไปรับเมืองลานตกา ศรีมหาราชาถึงแก่กรรมเอาศพมาไว้ วัศศภ
พ.ศ. ๑๘๖๑ ถึง พ.ศ. ………… พระพนมทะเลศรี มเหสวัสดิทราธิราช (นางจันทรเทวี)
พ.ศ. ………… ถึง พ.ศ. ๑๘๘๕ พระพนมวัง (นางสะเดียงทอง)
พ.ศ. ๑๘๘๕ ถึง พ.ศ. ………… เจ้าศรีราชา หรือพระเจ้าศรีธรรมโศกราช สุรินทราราชาสุรวงค์ ธิบดีศีรยุ ธิษเถียรอภัย ฑิริ ปรากรมพาหุ (นางสน) เจ้าพระยานครศรีธรรมราชมหานคร
ปี พ.ศ. ๑๘๓๗ ถึงปี พ.ศ. ๑๘๙๓ เมืองนครศรีธรรมราชยังมีฐานะเป็นเมืองพระยามหานคร หรือเมืองประเทศราช

…………

หลังปี พ.ศ. ๑๘๖๑ ขุนรัตนากร
พ.ศ. ๑๘๙๓ ถูกรวบเข้ากับอาณาจักอยุธยา เมืองนครศรีธรรมราชตก อยู่ในกลุ่ม เมืองพระยามหานครที่ต้องถวายต้นไม้ทอง เครื่องราชบรรณาการแก่กรุงศรีอยุธยา
พ.ศ. ………… ถึง พ.ศ. ………… ท้าวราชกฤษณา และภรรยาออกญาราม เจ้าเมืองนครศรีธรรมราช (ตำนานวัดพังยาง ระโนด)
พ.ศ. ๑๙๑๙ ถึง พ.ศ. ………… หลวงศรีมหาวงค์ เจ้าเมืองนครศรีธรรมราช มาทำวิหารฝ่ายอุดรพระธาตุทักษิณพระโพธิมณเฑียร ก่อพระสูง ๗ ศอก หล่อพระสำมฤฐองค์หนึ่งไว้ปัจฉิม เมียหล่อองค์หนึ่งไว้ฝ่ายบูรรพ์ ชื่อว่าเพหารเขียน (สร้างวิหารเขียน วัดพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช) แล้วอุทิศข้าหญิงชายไร่นาไว้ สำหรับรักษาพระ โปรดให้หลวงพิเรนทรเทพมาเป็นเจ้ามือง พระทิพราชาน้องพระญาสุพรรณเป็นปลัดศึก อารู้ ยกมาตีเมืองแล้วไปตีพัทลุงได้ ทิพราชาเป็นแม่ทัพไปตีคืนเล่า

พ.ศ. ………… ถึง พ.ศ. ………… หลวงพิเรนทรเทพ
พ.ศ. ๑๙๙๘ ถึงพ.ศ. ………… เจ้าพระญาศรีธรรมราช ชาติเดโชไชย มไหยสุริยาธิบดีอภัย พิริยบรากรมพาหุ
พ.ศ. ๑๙๙๘ ฐานะเมืองนครศรีธรรมราชเปลี่ยนเป็นหัวเมืองเอก
พ.ศ. ๒๐๓๙ ถึง พ.ศ. ………… โปรดให้พระยาพลเทพราชมาเป็นเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช (กำกับทำกำแพงเมือง) กำแพงเมืองนครศรีธรรมราชถูกดัดแปลงเป็นกำแพงอิฐ โดยชาวโปรตุเกต แล้วเข้าไปกรุงไปทางเมืองสระ
พ.ศ. ………… ถึง พ.ศ. ………… ออกหลวงชัยราชาราชสงคราม ย้ายเจ้าเมืองพัทลุงไปเป็นเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช
พ.ศ. ………… ถึง พ.ศ. ………… ออกพระราชเดชชัย
พ.ศ. ………… ถึง พ.ศ. ๒๐๗๒ ขุนอินทรเทพ ตั้งเป็นเจ้าพระยาศรีธรรมโศกราช หรือ ออกพระศรีไสยรัตน์รังสี (ขุนนางเชื้อสายนครศรีธรรมราช) ซึ่งเป็นคนสนิทของพระมหาธรรมราชา
พ.ศ. ………… ถึง พ.ศ. ๒๐๙๑ ออกขุนทรเนนทรเทพ
พ.ศ. ๒๑๐๕ ถึง พ.ศ. ๒๑๒๒ ประมาณเวลาที่พระเจ้าศรีธรรมโศกราชสร้างวัดท่าช้างเป็นอารามหลวงแล้วให้พระสมโพธิสมภารเป็นอธิการ และ ท้าวโคตรคีรีเศรษฐีสร้างวัดเสมาทอง (ตรงบริเวณเจดีย์ยักษ์) สันนิษฐานว่าวัดนี้น่าจะอยู่ตรงเจดีย์ยักษ์ ชื่อพระเงินเป็นชื่อพระประธานวัดนี้
พ.ศ. ………… ถึง พ.ศ. ๒๑๓๓ ปลัดเมือง ขึ้นรั้งเมือง
พ.ศ. ………… ถึง พ.ศ. ๒๑๓๙ มีตราโกษาธิบดีออกมาให้ จ่าพลภาย ( รั้งเมืองนครศรีธรรมราช)
พ.ศ. ๒๑๔๑ ถึง พ.ศ. ๒๑๔๔ โปรดให้ พระยาศรีธรรมราชะเดชะมาเป็นเจ้าเมืองอุชงคนะให้ลักปหม่าหนาเป็นแม่ทัพเรือมารบ เจ้าเมืองให้ขุดคูเมืองป้องกันข้าศึกจากเมืองยี่หน (รัฐยะโฮร์) ปัจจุบันเรียกว่า คูขวาง เสียขุนคำแหงปลัดเมือง ณ รอปากพระญา ข้าศึกรุกเข้าถึงตีนกำแพงฝ่ายอุดร พระยาศรีธรรมราชออกรบ ศึกหนีไป
พ.ศ. ๒๑๔๔ ถึง พ.ศ. ………… โปรดให้พระยารามราชท้ายน้ำมาเป็นเจ้าเมืองเอาขุนเยาวราชมาเป็นปลัดเมือง รู้ข่าวศึกอุชงคนะจึงพระยาให้ขุดฝ่ายบูรรพ์แต่ลำน้ำท่าวังมาออกลำน้ำฝ่ายทักษิณ (เสียชีวิตในที่รบ) พระยาแก้วก่อเจดีย์ไว้ในวิหารพระธรรมศาลา บรรจุอัฐิรามราชท้ายน้ำ เรียกว่า เจดีย์สวรรค์ พระยารามราชท้ายน้ำ เป็นขุนศึกคู่พระทัย สมเด็จพระนเรศวรมหาราช
พ.ศ. ๒๑๕๕ ถึง พ.ศ. ๒๑๖๓ ออกท้าวประทอง (ออกญาพัทลุง) เจ้าเมืองพัทลุง มาเป็นเจ้าเมืองนครนครศรีธรรมราช (เป็นลูกชายเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช คนก่อน) เจ้าเมืองคนนี้มีปริศนาในเรื่อง เจดีย์สวรรรค์ เพราะว่าเสียชีวิตในสนามรบ ที่หัวรอ ท่าพญาเช่นกัน
พ.ศ. ………… ถึง พ.ศ. ………… ออกญาพัทลุง
พ.ศ. ๒๑๗๑ ถึง พ.ศ. ๒๑๗๒ ขุนอินทราเป็นศรีมหาราชา (กรุงศรีอยธยาแต่งตั้งมามาพร้อมกับนายสามจอมทำหน้าที่จดสารบาญชีที่ภูมิทัศแก่พระสงฆ์และศาสนสถานทั้งหลายในเมืองนครศรีธรรมราช)
พ.ศ. ๒๑๗๒ ถึง พ.ศ. ๒๑๗๓ ออกญาเสนาภิมุข (ยามาดะ) ในปี พ.ศ. ๒๑๗๒ เจ้าพระยากลาโหมสุริยวงค์ (ออกญากลาโหม) กำลังชุมพลเพื่อเตรียมการปราบดาภิเษกเป็นกษัตริย์ ภายหลังพลักได้ดันให้ ออกญาเสนาภิมุข (ยามาดะ) ไปเป็นเจ้าเมืองนครศรีธรรมราชได้สำเร็จ ออกญาเสนาภิมุข (ยามาดะ) ได้ฆ่ากรมการเมืองนครศรีธรรมราช ที่เป็นปรปักษ์กับตนหลายคนและทั้งริบทรัพย์สมบัติของกรมการเมืองเหล่านั้น รวมทั้งของชาวเมืองไปให้พวกญี่ปุ่นที่ติดตามมาด้วย ต่อมา ยามาดะ ถูกวางยาพิษตาย ที่เมืองนครศรีธรรมราช
พ.ศ. ๒๑๗๓ ถึง พ.ศ. ๒๑๗๖ ออกขุนเสนาภิมุข (โอนิน) บุตร ยามาดะ ขึ้น เป็นเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช ในปี พ.ศ. ๒๑๗๕ นครศรีธรรมราช เป็นกบฏต่อกรุงศรีอยุธยา ออกญาขุนเสนาภิมุข ( โอนิน) ตั้งตนเป็นกษัตริย์ (พระราชากำมะลอ) เมืองนครศรีธรรมราช เกิดกลียุค ชาวเมืองถูกออกขุนเสนาภิมุข (โอนิน) ปล้นฆ่าตายจำนวนมาก ชาวเมืองนคร ฯ จึงต้องหนีตายออกนอกเมือง จนเมืองนคร ฯ กลายเป็นเมืองร้าง ออกขุนเสนาภิมุขทิ้งเมืองถอยไปอยู่กัมพูชา ………… เนื่องมาจากใน ปี พ.ศ. ๒๑๗๕ กรุงศรีอยุธยา ส่ง ออกญามะริด ซึ่งเป็นน้องชายเจ้าเมืองคนเก่า ลงมาปราบ เข้ายึดเมืองนครศรีธรรมราชคืน
กล่าวคือกองทัพเรือกรุงศรีอยุทยา ส่งออกญาท้ายน้ำกับออกพระศักดาพลฤทธิ์เป็นแม่ทัพ พร้อมด้วยพระยาเมืองนครศรีธรรมราชคนใหม่ สามารถปราบขบถลงได้โดยเร็ว ราว วันที่ ๒๐ สิงหาคม ๒๑๗๕

…………

พ.ศ. ………… พระบรมธาตุหัก ในปี พ.ศ. ๒๑๙๐ ซ่อมเสร็จ ………… ตามจารึกที่ปลียอดพระบรมธาตุเจดีย์นคร ฯ ………… สมัยพระเจ้าปราสาททอง ยอดพระบรมธาตุหักถึงรัตนบัลลังก์ (เกิดจากฝีมือมนุษย์) บรรทึกไว้ว่า ………… เมื่อวันจันทร์เดือนหก แรมสีค่ำ ปีมะเมีย และซ่อมกลับคืนแล้วเสร็จใน เดือนสิบ วันศุกข์
พ.ศ. ๒๑๙๒ ถึง พ.ศ. ๒๑๙๗ เจ้าพระยานครศรีธรรมราช เดชไชยอภัยพีธีปรากรมพาหุ
พ.ศ. ๒๑๙๗ ถึง พ.ศ. ………… มีพระบรรทูลโปรดให้ ………… พระยาบริบาลพลราช เจ้าเมืองตะนาวศรี มาเป็นเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช เดชไชยอภัยพิธีปรากรมพาหุ เจ้าพระญานครศรีธรรมราช

………… ยุคสมัยพระนารายณ์มหาราช พ.ศ. ๒๑๙๙ ถึง พ.ศ. ๒๒๓๑ …………

พ.ศ. ………… ถึง พ.ศ. ………… เจ้าพระยานคร ฯ (ขุนทอง)

………… แต่งตั้งผู้รั้งเมือง …………

กรุงศรีอยุทธยาได้ลดอำนาจเมืองนครศรีธรรมราชลง โดยแต่งตั้งผู้รั้งเมืองและกรมการเมืองตามตำแหน่งพอสมควร
พ.ศ. ………… ถึง พ.ศ. ………… เจ้าเมืองนครศรีธรรมราชถูกประหาร กรณีเรื่องศรีปราชญ์ (ใคร)
พ.ศ. ๒๒๓๐ ออกญาพัทลุง พัทลุงมีจิตรศรัทธาบริจากแผ่นทองคำติดบนปลียอดพระบรมธาตุเมืองนครศรีธรรมราช ความสัมพันธ์ฉันเครือญาติ มีศักกราชกำกับว่า พ.ศ. ๒๒๓๐ เพื่อความสัมพันธ์ฉันเครือญาติและปกครอง ๒ เมือง
พ.ศ. ๒๒๓๐ ถึง พ.ศ. ๒๒๓๕ ออกญารามเดโช (หวาน) มาเป็นเจ้าเมืองนครศรีธรรมราชแทนเจ้าเมืองคนเก่าที่ถูกประหาร (ออกรามเดโช เป็นลูกชายเจ้าเมืองไทรบุรี ซึ่งเป็นชาวเปอร์เชีย) ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๒๒๙ ถึงปี พ.ศ. ๒๒๓๕ พระยารามราชเดโช เป็นกบฏ กรุงศรีอยธยา
พ.ศ. ๒๒๓๕ ………… เจ้าพระยารามเดโช เจ้าเมืองนครศรีธรรมราชหนีไปมาลายู
พ.ศ. ………… ถึง พ.ศ. ๒๒๔๒ พระยายมราชสั่ง
พ.ศ. ๒๒๔๒ ถึง พ.ศ. ………… เจ้าพระยาศรีธรรมราช เดชชาติอำมาตยานุชิต พิพิทรัตนราชโกษาธิบดีอภัยพิริยบรากรมพาหุ (สารานุกรมวัฒนธรรมภาคใต้เล่ม ๑ ปีพ.ศ. ๒๕๒๙ หน้าที่ ๑๗)
ใน ปีพ.ศ. ๒๒๔๔ ………… พระเพทราชารับสั่งให้บูรณะ พระวิหารทับเกษตรและวิหารต่าง ๆ วัดพระบรมธาตุที่ชำรุด
พ.ศ. ๒๒๗๕ ถึง พ.ศ. ………… โปรดเกล้าให้ ขุนชำนาญ (ดาบคู่) ไปเป็นพระยานครศรีธรรมราช ในนามเจ้าพระยาชำนาญบริรักษ์ (อู่) ยศขุนนางชั้นพระยามหานคร (สารนคร ฉบับที่ ๔ เมษายน ๒๕๕๖)
พ.ศ. ๒๒๕๘ ถึง พ.ศ. ………… ในรัชกาลสมเด็จพระเจ้าบรมโกศแห่งกรุงศรีอยุธยาได้โปรดให้ พระยาไชยาธิเบศร์ มาเป็นเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช
พ.ศ. ๒๒๙๗ พระยาพลเทพออกมาเป็นเจ้าเมืองนคร หลักฐานจากจารึกฐานพระลากวัดศรีทวี อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช
พ.ศ. ๒๓๐๐ ถึง พ.ศ. ๒๓๐๑ ปรากฏหลักฐานในทำเนียบศักดินา ข้าราชการเมืองนครศรีธรรมราช ครั้ง พระยาสุโขทัย มาเป็นเจ้าพระยาธรรมราช (บุญเลี้ยง) ปลายแผ่นดิน พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ
พ.ศ. ๒๓๐๑ ถึง พ.ศ. ๒๓๑๐ พระยาสุราชสุภาวดี (ละคร หรือดอกไม้ ) เจ้ากรมขุนอนุรักษ์มนตรีโปรดตั้งพระยาราชสุภาวดี เป็นว่าที่พระยาศรีธรรมโศกราชเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช เป็นขุนนางนอกราชการตำแหน่ง คือ เจ้ากรมพระสุรัสวดีกลางศักดินา ๕,๐๐๐ เป็นออกพระ ถูกอุธรณ์ต้องกลับ กรุงศรีอยุธยา มีชีวิตถึงรัชกาลพระเจ้ากรุงธนบุรี

………… ยุคกรุงธนบุรี / รัตนโกสินทร์ …………

พ.ศ. ๒๓๑๐ ถึง พ.ศ. ๒๓๑๒ เจ้าพระยานคร ฯ (หนู)
พ.ศ. ๒๓๑๒ ถึง พ.ศ. ๒๓๑๙ เจ้านราสุริยวงค์ (พระเจ้าหลานเธอ ) ทิวงคตที่เมืองนครศรีธรรมราช
พ.ศ. ๒๓๑๙ ถึง พ.ศ. ๒๓๒๘ เจ้าพระยานคร(หนู) ได้รับการแต่งตั้งอีกครั้งเป็น เจ้าขัตติยราชนิคมสมมติมไหสวรรค์ พระเจ้านครศรีธรรมราช ณ วันอาทิตย์ เดือน 11 ขึ้น 3 ค่ำ ศก.นั้น

นครศรีธรรมราชสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น (พ.ศ. 2325 ถึง พ.ศ. 2410)

พ.ศ. ๒๓๒๘ ถึง พ.ศ. ๒๓๕๒ เจ้าพระยานครพัฒน์
พ.ศ. ๒๓๕๔ ถึง พ.ศ. ๒๓๘๒ เจ้าพระยานคร (น้อย) วันอาทิตย์ แรม 4 ค่ำ เดือน 6 จุลศักราช ๒๑๐๑ เจ้าพระยานครน้อยได้ถึงแก่อสัญกรรม รวมเวลาปกครองเมืองนครศรีธรรมราช ๒๘ ปี
พ.ศ. ๒๓๘๒ ถึง พ.ศ. ๒๔๔๐ พระเสน่หามนตรี (น้อยกลาง)
พ.ศ. ๒๔๔๐ ถึง พ.ศ. ๒๔๔๗ พระสุธรรมมนตรี (หนูพร้อม)
พ.ศ. ๒๔๔๗ ถึง พ.ศ. ๒๔๔๙ พลเอกเจ้าพระยาบดินเดชานุชิด (แย้ม ณ นคร)
พ.ศ. ๒๔๕๙ ถึง พ.ศ. ………… จากผู้ว่าการเมือง ………… เป็นผู้ว่าราชการจังหวัด
พ.ศ. ๒๔๗๕ ………… มณฑลนครศรีธรรมราช ได้ยุบเป็นจังหวัด มีผู้ว่าราชการจังหวัด

………… ทำเนียบผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช …………

๑. พ.ศ. ๒๔๔๐ ถึง พ.ศ. ๒๔๔๗ เจ้าพระยาสุธรรรมนตรีศรีธรรมราช (หนูพร้อม ณ นคร)
๒ .พ.ศ. ๒๔๗๗ ถึง พ.ศ. ๒๔๗๙ พระยาสนทร ธุรกิจ (หมี ณ ถลาง)
๓. ๓ พ.ย. ๒๔๔๙ ถึง ๑ มี.ค. ๒๕๔๒ พระยาตรังภูมิบาล (ถนอม บุญยเกตุ )
๔. ๑๕ มิ.ย. ๒๔๕๒ ถึง ๑๓ ก.ค. ๒๔๕๕ พระยาศีรีธรรมบริรักษ์ (เย็น สุวรรณปัทม)
๕. ๑๓ ก.ค. ๒๔๕๕ ถึง ๕ มี.ค. ๒๔๖๒ พระยาประชากิจกรจักร์ (พัด มหาเปารยะ)
๖. ๖ ม.ค. ๒๔๖๒ ถึง ๒๖ มิ.ย. ๒๔๗๔ พระยารัษฏานุประดิษฐ์ (สิน เทพหัสดิน ณ อยุธยา)
๗. ๒๖ มิ.ย. ๒๔๗๔ ถึง ๒๓ ก.พ. ๒๔๗๕ พระยาสุรพลพิพิธ (เป้า สุมนดิษฐ์)

บทความนี้ผู้เขียนได้เคยเผยแพร่ไปแล้วเมื่อ ปี ๒๕๖๑
อ้างอิงข้อมูล หนังสือทักษิณรัฐ ของ ศ.มานิต วัลลิโภดม โดย กรมศิลปากร
หนังสือ ประวัติสังเขปพระบรมธาตุเจดีย์ นครศรีธรรมราช กับเรื่องเมืองนคร เจริญชัย พุทธรัต